วงโยธวาทิต โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

วงโยธวาทิต โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
สัญลักษ์โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การบริหาร วงโยธวาทิตโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

การบริหาร วงโยธวาทิตโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
    เมื่อก่อนตอนวงเราเพิ่งเริ่มมีวงใหม่ๆ ก็ได้รับการถ่ายทอดวิชา จากครูบาอาจารย์ได้รับการเล่าขานกันว่าท่านพระเจนดุริยางค์ได้เป็นผู้วางรากฐานวงดุริยางค์ทหารอากาศและวงดุริยางค์กรมตำรวจ ซึ่งท่านได้บันทึกเพลงไทยหลายๆเพลงให้เป็นโน๊ตเพลงสากล วงเราเองก็ได้รับวิทยาการมาจากครูเลื่อนซึ่งก็เป็นศิษย์ของท่านเช่นกัน



    
เราก็ซ้อมแบบโน๊ตไทยบ้าง โน๊ตสากลบ้าง จนไปออกแสดงและเข้าประกวดที่ต่าง

ตอนหลังจากนั้นก็เริ่มมีศิษย์เก่าบ้าง อาจารย์จากกองดุริยางค์เหล่าทัพต่างๆมาสอนให้ ก็แยกกันซ้อมเป็นกลุ่มเครื่องมือต่างกันไป เสียงไม้เคาะจังหวะบนกระดานดำก็ดังกันสนั่นหวั่นไหวแข่งกับเสียงเครื่องดนตรี ตอนนั้นส่วนใหญ่ก็ยังเป็นระบบท่องจำโน๊ตกัน ยังไม่ค่อยอ่านโน๊ตสากลกันคล่องนัก เพราะเวลาการออกงานส่วนใหญ่จะต้องออกกลางแจ้งที่ไม่มีโน๊ตให้ดู โน๊ตสากลก็ยังไม่ค่อยมีเครื่องพิมพ์เครื่องโน๊ตหรือเครื่องถ่ายเอกสารแบบสมัยนี้ เพิ่งจะมีีตอนหลังๆตอนอาจารย์จากเหล่าทัพต่างๆนี้แหล่ะนำมาให้เล่น



ตอนนี้เราก็เริ่มมีรุ่นพี่ ที่เล่นวงดนตรีสากลมาช่วยสอนด้วยเพราะอาจารย์กล้าหาญ พันธ์งาม (ขอกราบอภัยน่ะครับอาจารย์ผมไม่อาจพิมพ์ชื่อนามสกุลไม่ถูกต้อง)ท่านดูแลวงดุริยางค์ด้วย ก็เริ่มมีระบบรุ่นพี่รุ่นน้องเกิดขึ้น


พี่ๆก็จะมาสอนแบบแยกกันต่อโน๊ตเพลงของเครื่องมือของตัวเอง วิธีการก็แล้วแต่จะนึกออกที่จะทำให้น้องๆเล่นได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็มีการทำโทษก็หลายวิธี สัมผัสศรีษะบ้าง หลังบ้าง ก้นบ้าง ดันพื้นบ้าง วิ่งบ้าง ลุกนั่งบ้าง ฮ่าๆ สนุกพี่เขาล่ะ ก็ยังเคารพพวกพี่จนทุกวันนี้

     นี้คือวิธีที่เราปกครองกันแบบพี่น้องๆ เพราะตอนนั้นรับระเบียบวินัยมาจากครูตำรวจทหารครับผม
    หัวหน้าวงก็ยังเป็นแบบพี่ๆรับเพลงมาต่อกัน โดยแยกให้อาจารย์สอนบ้าง พี่ๆสอนบ้าง ก็มีขัดแย้งกันบ้างในหมู่พี่ๆเอง ก็ไปตกลงกันหลังตึกสาม(ปัจจุบันน่าจะเป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติ)สักพักก็เดินตามกันมา หน้าเขียวปากแตกตามประสาโรงเรียนชายล้วน ฮ่าๆ
    เริ่มตอนหลังนี้ก็ได้
อาจารย์วิทวัฒ กลีหมื่นไวย์ มาสร้างระบบใหม่โดยส่งพี่ๆบ้างคนไปศึกษาวิทยาการจากวงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม กทม. ก็ส่งไปตามเครื่องมือที่เรามี แล้วเราก็ไปได้ระบบการซ้อมแบบญี่ปุ่น ที่เขาซ้อมกันแบบมีระเบียบ-วินัยมาก


อาจารย์ก็จะให้พี่ๆไปศึกษาวิธีการฝึกซ้อมเครื่องดนตรี เรื่องการหายใจใช้ลมมาเป่าที่่ถูกต้อง การวางปากเป่าแบบที่ถูกต้อง จากที่เคยเป่ากันแบบสุดแรงเกิด ใครได้โน๊ตก็ดังเข้าไว้ ใครเป็นทำนองหลักก็ดังเข้าไว้ ก็ต้องมาปรับเปลี่ยนใหม่

เราก็เริ่มมีระบบที่เราเรียกกันว่า
"Sections" เช่น เซ็คชั่นฟลุ๊ท,คาริแนต,แซ๊กโซโฟน,ฮอร์น.ทรัมเป็ท,ทรอมโบน,เบส และ กลอง ตอนนั้นเรียกว่าเปอร์คัทชั่น (Percussion) แล้ว ทันสมัยน่ะฮ่าๆ มีการแบ่งการดูแลโดยหัวกลุ่มเครื่องมือต่างๆแยกกันเป็นเครื่องมือต่างๆ แล้วก็มีหัวหน้าใหญ่ขึ้นมามาคือหัวหน้ากลุ่มเครื่องลมไม้ (Wood Wind) เราเรียกกันเองว่าหัวหน้าPart กับ เครื่องโลหะทองเหลือง (Brass Wind)  แล้วก็เพอร์คัชชั่น  (Percussion) นั้นแหล่ะ ซ้อมแบบฝึกหัดแยกกันก่อนแล้วค่อยมาร่วมเป็นเครื่องลมไม้ทั้งหมดกลุ่มนึง แล้วก็เครืองโลหะอีกกลุ่มนึง กลองอีกกลุ่มนึง เสร็จแล้วเครื่องเป่าทั้งหมดถึงมาซ้อมร่วมกัน แต่ยังไม่รวมกลอง ตอนนั้นเรื่องดรัมคอร์ (Drum Corp) ยังไม่มีกลองยังเป็น กลองเล็กสะพายด้านขาซ้าย กลองใหญ่ก็เป็นหลายใบแต่เล่นโน็ตเดียวกัน แต่ถ้าเพลงนั่งบรรเลงก็แยกเล่นตามเครื่องดนตรีของตัวเอง เช่น กลองทิมปานี (Timpani) อุปกรณ์เสริมต่างๆแบบคอนเสิร์ท ก็ต่างๆกันไป ตอนนั้นแหล่ะถึงจะมารวมกันทั้งหมด เราเรียกกันเอง"การรวมแบนด์" (Band) แบบนั่งบรรเลง หรือเดินบรรเลง (Marching Band) ก็แล้วแต่ภาระกิจช่วงนั้นเป็นช่วงๆไป
เรื่องการซ้อมแถวก็ยังใช้ระบบทหารอยู่ คือ ท่าตรง ท่าพัก พักแถว รวมแถว ก็ซ้อมเดินแถวแบบแถวหน้ากระดานบ้าง แถวตอนบ้าง เดินย่ำเท้าสูงอยู่ มาเพิ่มเป็นเดินแบบเท้าต่ำหลัง เรื่องการฝึกเดินแบบดรัมคอร์ยังไม่มา ตอนหลังถึงมาฝึกตามวีดีโอญี่ปุ่น ตอนแปรขบวน เราก็เลยฝึกเดินทั้งสองแบบ

ปัจจุบันตอนนี้เข้าฝึกแบบดรัมคอร์ เดินเท้าต่ำกันหมดแล้ว มีแต่วงทหารบางหน่วยก็ยังเดินเท้าสูงอยู่ รูปแบบการซ้อมก็ฝึกตามวงที่ตนเอง(มีหลายวง เช่น
The Cavalier,The Blues Devils และอีกหลายวง คำบอกคำสั่งตอนหลังก็เป็นภาษาฝรั่งหมดแล้วมีบางวงซ้อมแบบเดินเป็นจุดสี่เหลี่ยม สี่จุด จุดละหนึ่งคน ห่างกันจุดละแปดก้าว(5หลา) เดินซ้อมแบบหันหน้าตรงอย่างเดียวบ้าง เดินหันหน้าตามทิศทางที่เดินบ้่าง ทำมือแบบถือเครื่องแบบเป่าแตรทรัมเป็ท ประมาณนั้น

ช่วงนั้นได้พี่ๆโดยเฉพาะพี่ขวัญ พงษ์ดนตรี (ตอนนี้เสียชีวิตแล้ว) เป็นผู้นำการฝึกซ้อมจากวัดสุทธิมาฯ มีการแบ่งเป็น หัวหน้าวง(ประธานวงฯ),หัวหน้าพาร์ท,หัวหน้าเซ็คชั่น นอกนั้นก็จะมีรองประธานวงฯ,หัวหน้าฝ่ายอุปกรณ์เครื่องดนตรี,หัวหน้าฝ่ายผัสดุอุปกรณ์และฝ่ายโน๊ตเพลง,ฝ่ายสถานที่,ฝ่ายเหรัญญิก,ผัสดุชุดออกงาน โดยการคัดเลือกจากเพื่อนๆและอาจารย์ ตอนนั้นเกือบทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง เป็นการฝึกเรื่องการบริหารองค์กรมาตั้งแต่ตอนนั้น

การปกครองก็เริ่มมีระบบระเบียบมากขึ้น มีการประชุมหาข้อแก้ไขต่างๆตลอด โดยรุ่นพี่เองบ้าง อาจารย์บ้าง บ้างครั้งก็เชิญวิทยากรจากที่อื่นมาสอน อบรมกันที่โรงเรียน การทำโทษน้องก็เปลี่ยนจากระบบสัมผัสตัว ฮ่าๆ มาเป็นทำโทษแบบที่มีประโยชน์กับฝึกซ้อมการบรรเลง พี่ๆบางคนเช่นรุ่นพี่ดุ๊ก มาสเตอร์ศักดิ์เกษม ตอนโคกสูง เป็นประธานวงฯ พี่สั่งทำโทษใคร ก็จะทำโทษตัวเองด้วย ประมาณว่า น้องทำไม่ได้แสดงว่าพี่สอนไม่ดี ฮ่าๆ

นั้นคือการปกครองแบบพี่ปกครองน้อง ประมาณว่าคัดเลือกมาเพื่อมารับใช้น้องๆ ฮ่ะๆ ไม่ใช่มาเป็นหัวหน้าสั่งการน้องๆได้ตามอำเภอเมือง(ใจ)  แต่มีหน้าที่คอยปฎิบัติตามความเห็นร่วมกันของการประชุมของวง ว่าจะซ้อมเรื่องอะไร นโยบายปีนั้นเดือนนั้นทำอะไร เรื่องอะไร เราชัดเจนกันมาก ใครนอกลู่นอกทางเพื่อนๆน้องๆก็จะรู้แล้วว่าไม่ใช่นโยบายของวงวางไว้