วงโยธวาทิต โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

วงโยธวาทิต โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
สัญลักษ์โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การประกวดของวงโยธวาทิต รร.ราชสีมาวิทยาลัย ณ.ประเทศเนเธอร์แลนด์


การประกวด การนั่งบรรเลง
ณ.ประเทศเนเธอร์แลนด์


Roda Hall Kerkrade Holland


วงเราออกเดินทางจาก Home Frank ประเทศเบลเยี่ยมแต่เช้า
ก็เริ่มจัดอุปกรณ์ ขึ้นรถ (ฝรั่งตรงเวลามาก)เป็นรถบัสคันใหญ่แบบรถทัวว์นำเที่ยวบ้านเราครับ แล้วก็รถขนเครื่องดนตรีชิ้นใหญ่ๆอีกหนึ่งคัน เราไปที่ Roda Hall Kerkrade Holland ไปถึงก็ทานผลไม้นมกล่องแซนวิช แล้วก็เตรียมตัวประกวด




วันนั้นเราสวมชุดสูท เสื้อนอกสีขาว
ติดเครื่องหมายหน้าอกเป็นตัวแทนประเทศไทย(รูปธงชาติไทย)
เสื้อเชิทตัวในสีขาว ผูกเนคไทด์สีดำ
กางเกงสีดำ รองเท้าหนังสีดำ



เพลงที่ใช้ประกวด

1. Romance

2.Japanese June

3.Symphonic Celebration And Dance
 



เพลงแรก Romance นี่พอไหวครับ
 เพราะใช้
Worm-up ที่วงทุกวัน
แต่เพลงที่สองนี้สิครับ ยากสุดๆ
เป็นเพลงญี่ปุ่นครับ
ต้องขอบคุณพี่ๆ
จากคณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาฯ
ที่มาเป็นหัวหน้าแต่กลุ่มเครื่องมือให้
เพราะจะมีเครื่องดนตรี 
Solo ในแต่ละท่อนเพลงหลายช่วงมาก
ส่วนเพลงที่สามนี่มันส์มากครับ
เป็นเพลงสนุกๆ
มีเสียงกลองทอมหลายๆใบ
เสียงต่ำ-สูงต่างๆกัน
แบบที่ตีในกลองชุดแบบวงดนตรีทั่วไปนั้นแหล่ะครับ.


พอตอนประมาณบ่ายสอง
ก็ประกาศผลการนั่งบรรเลงครับ

เราประกวดในประเภท Division2 ครับ
เพราะการแข่งขันการนั่งบรรเลง
ที่นั้นเค้าเป็นแบบคลาสสิกจริงๆ
ถ้าไม่ได้มาตรฐานของเค้า
ก็จะไม่ผ่านระดับต่างๆที่ตั้งไว้

ผลปรากฏว่าเราได้
เหรียญเงิน รองชนะเลิศ

ส่วนรูปด้านล่างเก็บตกมาจากประกวด
Marching Band
และ
Show Band
ที่ได้รับรางวัลมาเมื่อวานครับ.




รูปด้านบนพ่อบ้าน Home Frank 



อันนี้แฟนคลับที่โน่นครับ



ภาพนี้ตอนแสดงความยินดีกับเราตอนรับรางวัลเสร็จแล้ว


*รูปภาพหายากมาก พยายามไปแสวงหามาใส่ให้เห็นกัน บางภาพไม่ชัดเจน ก็ขออภัยด้วยครับ.







วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การบริหาร วงโยธวาทิตโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

การบริหาร วงโยธวาทิตโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
    เมื่อก่อนตอนวงเราเพิ่งเริ่มมีวงใหม่ๆ ก็ได้รับการถ่ายทอดวิชา จากครูบาอาจารย์ได้รับการเล่าขานกันว่าท่านพระเจนดุริยางค์ได้เป็นผู้วางรากฐานวงดุริยางค์ทหารอากาศและวงดุริยางค์กรมตำรวจ ซึ่งท่านได้บันทึกเพลงไทยหลายๆเพลงให้เป็นโน๊ตเพลงสากล วงเราเองก็ได้รับวิทยาการมาจากครูเลื่อนซึ่งก็เป็นศิษย์ของท่านเช่นกัน



    
เราก็ซ้อมแบบโน๊ตไทยบ้าง โน๊ตสากลบ้าง จนไปออกแสดงและเข้าประกวดที่ต่าง

ตอนหลังจากนั้นก็เริ่มมีศิษย์เก่าบ้าง อาจารย์จากกองดุริยางค์เหล่าทัพต่างๆมาสอนให้ ก็แยกกันซ้อมเป็นกลุ่มเครื่องมือต่างกันไป เสียงไม้เคาะจังหวะบนกระดานดำก็ดังกันสนั่นหวั่นไหวแข่งกับเสียงเครื่องดนตรี ตอนนั้นส่วนใหญ่ก็ยังเป็นระบบท่องจำโน๊ตกัน ยังไม่ค่อยอ่านโน๊ตสากลกันคล่องนัก เพราะเวลาการออกงานส่วนใหญ่จะต้องออกกลางแจ้งที่ไม่มีโน๊ตให้ดู โน๊ตสากลก็ยังไม่ค่อยมีเครื่องพิมพ์เครื่องโน๊ตหรือเครื่องถ่ายเอกสารแบบสมัยนี้ เพิ่งจะมีีตอนหลังๆตอนอาจารย์จากเหล่าทัพต่างๆนี้แหล่ะนำมาให้เล่น



ตอนนี้เราก็เริ่มมีรุ่นพี่ ที่เล่นวงดนตรีสากลมาช่วยสอนด้วยเพราะอาจารย์กล้าหาญ พันธ์งาม (ขอกราบอภัยน่ะครับอาจารย์ผมไม่อาจพิมพ์ชื่อนามสกุลไม่ถูกต้อง)ท่านดูแลวงดุริยางค์ด้วย ก็เริ่มมีระบบรุ่นพี่รุ่นน้องเกิดขึ้น


พี่ๆก็จะมาสอนแบบแยกกันต่อโน๊ตเพลงของเครื่องมือของตัวเอง วิธีการก็แล้วแต่จะนึกออกที่จะทำให้น้องๆเล่นได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็มีการทำโทษก็หลายวิธี สัมผัสศรีษะบ้าง หลังบ้าง ก้นบ้าง ดันพื้นบ้าง วิ่งบ้าง ลุกนั่งบ้าง ฮ่าๆ สนุกพี่เขาล่ะ ก็ยังเคารพพวกพี่จนทุกวันนี้

     นี้คือวิธีที่เราปกครองกันแบบพี่น้องๆ เพราะตอนนั้นรับระเบียบวินัยมาจากครูตำรวจทหารครับผม
    หัวหน้าวงก็ยังเป็นแบบพี่ๆรับเพลงมาต่อกัน โดยแยกให้อาจารย์สอนบ้าง พี่ๆสอนบ้าง ก็มีขัดแย้งกันบ้างในหมู่พี่ๆเอง ก็ไปตกลงกันหลังตึกสาม(ปัจจุบันน่าจะเป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติ)สักพักก็เดินตามกันมา หน้าเขียวปากแตกตามประสาโรงเรียนชายล้วน ฮ่าๆ
    เริ่มตอนหลังนี้ก็ได้
อาจารย์วิทวัฒ กลีหมื่นไวย์ มาสร้างระบบใหม่โดยส่งพี่ๆบ้างคนไปศึกษาวิทยาการจากวงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม กทม. ก็ส่งไปตามเครื่องมือที่เรามี แล้วเราก็ไปได้ระบบการซ้อมแบบญี่ปุ่น ที่เขาซ้อมกันแบบมีระเบียบ-วินัยมาก


อาจารย์ก็จะให้พี่ๆไปศึกษาวิธีการฝึกซ้อมเครื่องดนตรี เรื่องการหายใจใช้ลมมาเป่าที่่ถูกต้อง การวางปากเป่าแบบที่ถูกต้อง จากที่เคยเป่ากันแบบสุดแรงเกิด ใครได้โน๊ตก็ดังเข้าไว้ ใครเป็นทำนองหลักก็ดังเข้าไว้ ก็ต้องมาปรับเปลี่ยนใหม่

เราก็เริ่มมีระบบที่เราเรียกกันว่า
"Sections" เช่น เซ็คชั่นฟลุ๊ท,คาริแนต,แซ๊กโซโฟน,ฮอร์น.ทรัมเป็ท,ทรอมโบน,เบส และ กลอง ตอนนั้นเรียกว่าเปอร์คัทชั่น (Percussion) แล้ว ทันสมัยน่ะฮ่าๆ มีการแบ่งการดูแลโดยหัวกลุ่มเครื่องมือต่างๆแยกกันเป็นเครื่องมือต่างๆ แล้วก็มีหัวหน้าใหญ่ขึ้นมามาคือหัวหน้ากลุ่มเครื่องลมไม้ (Wood Wind) เราเรียกกันเองว่าหัวหน้าPart กับ เครื่องโลหะทองเหลือง (Brass Wind)  แล้วก็เพอร์คัชชั่น  (Percussion) นั้นแหล่ะ ซ้อมแบบฝึกหัดแยกกันก่อนแล้วค่อยมาร่วมเป็นเครื่องลมไม้ทั้งหมดกลุ่มนึง แล้วก็เครืองโลหะอีกกลุ่มนึง กลองอีกกลุ่มนึง เสร็จแล้วเครื่องเป่าทั้งหมดถึงมาซ้อมร่วมกัน แต่ยังไม่รวมกลอง ตอนนั้นเรื่องดรัมคอร์ (Drum Corp) ยังไม่มีกลองยังเป็น กลองเล็กสะพายด้านขาซ้าย กลองใหญ่ก็เป็นหลายใบแต่เล่นโน็ตเดียวกัน แต่ถ้าเพลงนั่งบรรเลงก็แยกเล่นตามเครื่องดนตรีของตัวเอง เช่น กลองทิมปานี (Timpani) อุปกรณ์เสริมต่างๆแบบคอนเสิร์ท ก็ต่างๆกันไป ตอนนั้นแหล่ะถึงจะมารวมกันทั้งหมด เราเรียกกันเอง"การรวมแบนด์" (Band) แบบนั่งบรรเลง หรือเดินบรรเลง (Marching Band) ก็แล้วแต่ภาระกิจช่วงนั้นเป็นช่วงๆไป
เรื่องการซ้อมแถวก็ยังใช้ระบบทหารอยู่ คือ ท่าตรง ท่าพัก พักแถว รวมแถว ก็ซ้อมเดินแถวแบบแถวหน้ากระดานบ้าง แถวตอนบ้าง เดินย่ำเท้าสูงอยู่ มาเพิ่มเป็นเดินแบบเท้าต่ำหลัง เรื่องการฝึกเดินแบบดรัมคอร์ยังไม่มา ตอนหลังถึงมาฝึกตามวีดีโอญี่ปุ่น ตอนแปรขบวน เราก็เลยฝึกเดินทั้งสองแบบ

ปัจจุบันตอนนี้เข้าฝึกแบบดรัมคอร์ เดินเท้าต่ำกันหมดแล้ว มีแต่วงทหารบางหน่วยก็ยังเดินเท้าสูงอยู่ รูปแบบการซ้อมก็ฝึกตามวงที่ตนเอง(มีหลายวง เช่น
The Cavalier,The Blues Devils และอีกหลายวง คำบอกคำสั่งตอนหลังก็เป็นภาษาฝรั่งหมดแล้วมีบางวงซ้อมแบบเดินเป็นจุดสี่เหลี่ยม สี่จุด จุดละหนึ่งคน ห่างกันจุดละแปดก้าว(5หลา) เดินซ้อมแบบหันหน้าตรงอย่างเดียวบ้าง เดินหันหน้าตามทิศทางที่เดินบ้่าง ทำมือแบบถือเครื่องแบบเป่าแตรทรัมเป็ท ประมาณนั้น

ช่วงนั้นได้พี่ๆโดยเฉพาะพี่ขวัญ พงษ์ดนตรี (ตอนนี้เสียชีวิตแล้ว) เป็นผู้นำการฝึกซ้อมจากวัดสุทธิมาฯ มีการแบ่งเป็น หัวหน้าวง(ประธานวงฯ),หัวหน้าพาร์ท,หัวหน้าเซ็คชั่น นอกนั้นก็จะมีรองประธานวงฯ,หัวหน้าฝ่ายอุปกรณ์เครื่องดนตรี,หัวหน้าฝ่ายผัสดุอุปกรณ์และฝ่ายโน๊ตเพลง,ฝ่ายสถานที่,ฝ่ายเหรัญญิก,ผัสดุชุดออกงาน โดยการคัดเลือกจากเพื่อนๆและอาจารย์ ตอนนั้นเกือบทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง เป็นการฝึกเรื่องการบริหารองค์กรมาตั้งแต่ตอนนั้น

การปกครองก็เริ่มมีระบบระเบียบมากขึ้น มีการประชุมหาข้อแก้ไขต่างๆตลอด โดยรุ่นพี่เองบ้าง อาจารย์บ้าง บ้างครั้งก็เชิญวิทยากรจากที่อื่นมาสอน อบรมกันที่โรงเรียน การทำโทษน้องก็เปลี่ยนจากระบบสัมผัสตัว ฮ่าๆ มาเป็นทำโทษแบบที่มีประโยชน์กับฝึกซ้อมการบรรเลง พี่ๆบางคนเช่นรุ่นพี่ดุ๊ก มาสเตอร์ศักดิ์เกษม ตอนโคกสูง เป็นประธานวงฯ พี่สั่งทำโทษใคร ก็จะทำโทษตัวเองด้วย ประมาณว่า น้องทำไม่ได้แสดงว่าพี่สอนไม่ดี ฮ่าๆ

นั้นคือการปกครองแบบพี่ปกครองน้อง ประมาณว่าคัดเลือกมาเพื่อมารับใช้น้องๆ ฮ่ะๆ ไม่ใช่มาเป็นหัวหน้าสั่งการน้องๆได้ตามอำเภอเมือง(ใจ)  แต่มีหน้าที่คอยปฎิบัติตามความเห็นร่วมกันของการประชุมของวง ว่าจะซ้อมเรื่องอะไร นโยบายปีนั้นเดือนนั้นทำอะไร เรื่องอะไร เราชัดเจนกันมาก ใครนอกลู่นอกทางเพื่อนๆน้องๆก็จะรู้แล้วว่าไม่ใช่นโยบายของวงวางไว้

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงโยธวาทิต ร.ร.ราชสีมาวิทยาลัย ณ.ต่างประเทศ

การประกวดดนตรีโลกครั้งที่ 11 (Wold Music Contest 11th)
2532 หรือ 1989




ตอนนี้มีหลายคนเริ่มถามหารูปตอนไปต่างประเทศกัน
ก็มีความคิดว่าอยากหารูปทุกๆคนที่ร่วมกับคณะที่เดินทางไปในครั้งนั้นมาดูกัน
ก่อนเดินทางก็มีการเตรีมตัวกันตั้งแต่ ประกวดที่สนามศุภฯเสร็จ
อ.วิทวัฒ อ.สมเกียาติ ก็ไปหาข้อมูลว่าที่ ต่างประเทศ มีการประกวดที่ใดบ้าง ก็ไปพบที่ประเทศเนเธอร์แลด์ ว่ามีการจัดประกวดมานานแล้ว

มีวงจากประเทศไทยไปประกวดมาแล้วด้วย คือ วงโยธวาทิต ร.ร.มงค์ฟอร์ดวิทยาลัย, วงโยธวาทิต ร.ร.วัดสุทธิวราราม ก็ไปมาแล้ว

ก็ไปหาข้อมูลมาว่า ต้องส่งใบสมัครไป ก็ส่งหนังสือไปขอใบสมัครจาก WMC มา

พอได้มา อาจารย์ก็เล่าให้ฟังว่า มานั่งแปลอังกฤษเป็นไทยกันแบบไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรนัก คือมันมีการประกวดทั้ง นั่งบรรเลง ทั้งเดินพาเรด ทั้งแปรขบวนกลางสนาม ก็พยายามศึกษา กติกา กัน Score เพลงก็ต้องส่งให้เค้า

เพลงบรรเลงก็ต้องติดต่อซื้อลิขสิทธิ์เจ้าของเพลง จำได้ว่ามานั่งคัดสกอร์เพลงไทยจองเราส่งไป ทาง WMC ก็ส่งกลับคืนว่าใช้ไม่ได้ สมัยนั้นยังไม่มีใครใช้โปรแกรมพิมพ์เพลงกันเ่ท่าไร ก็เขียนลายมือกันไป
นั่งเขียนหามรุ่งหามค่ำ ที่บ้าน อ.วิทวัฒ (ใกล้ๆกับบิ๊คซีโคราช)

เพลงที่ใช้ประกวดก็ยากมาก ก็มีทั้งนั่งบรรเลง เดินบรรเลง และก็มีการแบ่งออกเป็นหลายระดับหลายประเภทของวงมาก
ซ้อมกันจนเก็บละเมอตอนกลางคืน ที่สำคัญมีบางเพลง เป็นเพลงนั่งบรรเลง แต่อาจารย์และพี่ๆที่ช่วยศึกสอน นำมาเป็นเพลงแปรขบวน โอ้โหมันมาก ยังก้องอยู่ในหูจนทุกวันนี้

รูปนี้พี่ดุ๊ก ศักดิ์เกษม หัวหน้า กลุ่มเครื่องมือ Trombone นำทีมครับ. เท่ห์มากจริงๆ ข้างรูปไม่ค่อยชัดว่าเป็น ม.หมู วรรณชัย หรือเปล่า ถ้าใครจำได้ช่วแจ้งมาด้วยน่ะครับ.


หลังจากซ้อมกันจนได้หลายเดือนแล้ว อาจารย์ก็มีแผนการหาทุนโดยไปแสดงยังสถานที่ต่าง อาทิ โรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา สถานที่ราชการต่างๆ กองดุริยางค์เหล่าทัพต่างๆ เป็นการซ้อมใหญ่และหารายได้ในเวลาเดียวกัน


การประชาสัมพันธ์พวกเราดีมากครับ ทราบว่ามีนักข่าวช่อง5 เดินทางไปกับคณะเราด้วย คุณจิตนา กับพี่ช่างภาพอีกคน ยังไม่สามารถหาชื่อได้ครับ ขออภัยจริงๆ

(รูปนี้จากโต้งครับ.)

เราออกเดินทางกันโดยการบินไทยครับ เที่ยวบิน TG.933 ...หลังจากที่ทำพิธีอำลากันที่ทำพิธีอำลาต่างๆกันแล้วมีทั้ง พระพุทธราชสีมามงคลชัย ท่านท้าวสุรนารี ศาลหลักเมือง ท่านนายกชาติชาย ชุณหะวัณ ท่านกร ทัพพะรังสี (รมต.) พล.อ.ปัญญา สิงห์ศักดา พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี ผวจ.นครราชสีมา

เวลา 23.35 ออกเดินทางจากเมืองไทย ท่าอากาศยานดอนเมือง ถึงที่กรุงอัมเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เวลา 06.30 น.(11.30น.เวลาไทย) โดยได้รับการต้อนรับจากคณะท่านทูตไทยที่กรุงเฮก และคณะผู้ประสานงานจาก WMC มารับที่สนามบิน เพื่อเดินทางต่อ


เดินทางโดยรถบัสผ่านถนนอันแสนยาวไกล ข้ามประเทศไปที่ เมืองเจมเมนนิช ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นชายแดนติดกัน พัิกที่โฮมแฟรงค์ เป็นประมาณค่ายพักลูกเสือบ้านเราน่ะครับ.



หลังจากพักทานอารหารมื้แรกที่ โฮมแฟรงค์ ก็เป็นอารหารฝรั่งครับ.ขนมปังแข็งๆเหนียวๆกับแยม ก็นั่งกันโต๊ะยาวๆเรียงกันที่ห้องรับทานอาหาร ห้องนี้ครับรับรองวงจากเมืองไทยหลายวงแล้ว พี่หรั่งเองก็ไปนั่งสามเที่ยวแล้วคุยหน่อย หลังจากนั้นก็นำอุปกรณ์เครืองดนตรีออกมาตรวจสอบกันครับว่าเป็นยังไงบ้าง
ช่วงนี้ยังไม่ซ้อมกันครับ.
ตอนนี้ก็ยังงงๆกันอยู่ครับเพราะยังปรับเวลาร่างกายกันอยู่ แล้วที่สำคัญ ทำโน่นนี้อยู่เพลินดูนาฬิกา กับดวงอาทิตย์ก็ไม่รู้ตัวครับว่า 3 ทุ่มเข้าไปแล้ว ที่นั้นดวงอาทิตย์ตกตอนประมาณ 3 ทุ่มโน่นครับ


ากาศเริ่มเย็นมากขึ้น ก็ฟังอาจารย์กับพี่ๆนัดหมายแล้วก็เข้านอนกันก็เป็นห้องที่มีเตียงต่อกันเป็นแถวๆครับ น้องสุระนารีก็ไปพักห้องติดกับทางเข้าของประตูด้านบน ด้านล่างห้องใต้ดินเป็นที่พักพวกลิงๆผู้ชาย เสียงดังเจียวจาวเชียว ส่วนอาจารย์บางท่านก็พักกับนักเรียน บางท่าอาวุโสหน่อยก็มีห้องพักต่างหากกันครับ.
นอนกันก็แยกเป็นกลุ่มตามเครื่องมือครับ. ห้องน้ำมีทั้งในห้องและด้านนอกจะเป็นแล้วแต่ห้องจะไม่เหมือนกันครับ ห้องสุขาอยู่เรียงกันด้านนอกก็มี แล้วมีบางวงที่ไปพักเจอกับวงฝรั่งครับ.เข้าอาบน้ำกันโดยห้องฝักบัวผ้าม่านครับ พี่ไทยก็ไปเฝ้าแหม่มฝรั่งอาบน้ำกัน พอดีเป็นโรงเรียนชายเหมือนกับวงราชสีมาเราครับ.น้องๆก็เลยไม่ค่อยเจอผู้หญิง ขำๆน่ะครับ.

เช้าก็ออกกำลังกายแล้วก็อบอุ่นร่างกายกัน แล้วก็ซ้อมทั้งนั่งบรรเลงแล้วก็แปรขบวนกันไปครับ ก็จริงจังกันมากตอนนั้น ทุกคนๆทุ่มเทกันมากครับ โดยเฉพาะหัวหน้ากลุ่มเครื่องมือต่างๆครับ ไม่มีใครยอมใครครับ คือหมายความว่าเราจะไม่ยอมให้กลุ่มเครื่องมือเราผิพลาดครับ ตอนนั้นระบบกลุ่มเครื่องมือ(Sections,Part) หนักแน่นมาก เอามาจากวงวัดสุทธิครับ.ก็เข้าใจครับ ตอนนั้นแบกคำว่าประเทศไทยอยู่บนบ่าครับ.(ฮ่ะๆๆ)

แล้วก็มาถึงวันประกวดวันแรกครับ วันที่ 15 ก.ค.2532 ครับ.ตื่นแต่เช้ากลัวไม่ทัน เดินทางโดยรถบัสและรถขนอุปกรณ์ต่างครับ.ฝรั่งตรงเวลามาก เป็นนาทีเลยครับ.จำได้ว่าพอได้เวลา เข้าออกรถเลยครับ.
ไปถึงแต่เช้าเลยครับจำไม่ได้ว่ากี่โมงครับ.ไป-มาหลายวงสับสนเหมือนกัน ก็เตรีมตัวประกวด มาร์ชชิ่งครับ คือเดินแถวรอบสนามครับ.ตอนนั้นใช้เพลง "กราวกีฬา" "มาร์ชธนาคารทหารไทย" "Host Of Freedom" ใช่แล้วครับ วงเราใช้เพลงมาร์ชไทยเข้าประกวด ทั้งสองเพลงโดยอาจารย์ นาวาอากาศโทอารี สุขเกศ ครับ.จำได้กันอยู่ไหมครับ.

เป็นความภาคภูมิใจอีกอย่างครับ เราใช้คฑากรหญิงครับ ฝรั่งตอนนั้นก็ยังไม่ค่อยเห็นเลยน่ะครับ ได้รับการปรบมือตามมารยาทฝรั่งเขา ก็เพลงไหนชอบเขาก็ปรบมือตามจังหวะไปรอบสนาม อันนี้เราก็ต้องระวังเรื่องการสะท้อนเสียงด้วยน่ะครับ เพราะจังหวะเพลงมันจะไม่ตรงกับเรา ตอนเดิน ตอนนั้นยังใช้ลู่วิ่งเดิมอยู่ครับ ปัจจุบัน ใช้ตารางในสนาม ให้วงเดิมตามเส้นทางที่กำหนดให้
อันนี้รูปสนามใหม่ครับ
ตารางเดินปัจจุบันครับ.

เดินเสร็จก็อ้าว จบแล้ว มันเหมือนเร็วมากครับ ประมาณ20นาที ออกมาจากสนามก็มาพักเตรีมตัวรอประกวดตอนบ่ายต่อ ตอนซ้อมเหมือนจะนานมากก็เก็บรายระเอียดทุกๆอย่างไม่ว่าบุคลิกแต่ละคน การถือเครื่อง แถวตอน แถวหน้าตับ แถวเฉียง เสียงโน๊ต โอ้ว..เย่อะน่ะ.(ขำ) แต่พอเดินจริงมันเหมือนแปล่บเดียว


แล้วก็มาถึงการประกวดอันนี้ครับ การแปรขบวน


เวลา5โมงเย็นครับเราประกวดการแปรขบวนที่ฝรั่งเรียกว่า ๅ "Display" ที่สนามเดิมครับ "โรด้า ฮอลล์" (Roda Hall)
เราสวมชุดราชปะแตน อินทรธนูขาว อกติดไทยสัญลักษณ์ไทยสมุทรประกัดภัย สวมสนับแขนขาวถุงมือขาว เข็มขัดโลหะสีทอง หมวกแก๊ปดำขาว รองเท้าบู๊ทดำครึ่งเข่าครับ


การแสดงของเราใช้เพลง "สวีทออฟลิเบอร์ตี้" (Sweet Of Liberty) "โนวีน่า" (Novena) ซึ่งเป็นเพลงนั่งบรรเลงมาใช้ ทำนองมันเหมือนการอยู่ในอวกาศจุดเล็กๆแล้วขยายการเป็นใหญ่ขึ้นใหญ่ขึ้น แล้วก็ตูม เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ อลังการครับ เข้าตั้งใจฟังเงียบกันทั้งสนาม ฝรั่งเวลาดูการแสดงอะไร เขาจะตั้งดู หาสาระอารมณ์ร่วมอะไรประมาณนั้น

แล้วก็เพลง "ซิงโคเพทคล็อก" (Syncopate Clock) "ลอสแลนด์ แบนเดลเล่อ ลอส "Losland Bandeler Los" แล้วก็จบด้วยเพลง "ร็อค สไลด์" (Rock Slide) เป็นเพลงสนุกๆ จบท้าย



รูปนี้ใครเป็นใครก็รายงานตัวด้วยน่ะครับ.(รบกวนแจ้งชื่อด้วยน่ะครับ อยากทราบจริงๆครับ.)

เล่นเสร็จก็กระหึมครับ ฝรั่งปรบมือแบบลุกขึ้นยืนครับ.ทราบว่าคณาจารย์และผู้ร่วมคณะ ท่านทูตที่อยู่บนที่นั่งด้านบนน้ำตาไหลด้วยความปลื้มใจกัน
หลังจากนั้น ประมาณทุ่มนึงครับก็ประกาศผล ก็ฟังไม่รู้เรื่องครับ ที่สนามใช้ภาษาอังกฤษปนดัชครับ.พอมีชื่อวงไหนเขาก็เฮกัน มาถึงเราเขาก็ดีใจด้วยกับเรา แต่เราเองก็งงครับ อึ้งไปพักนึก แล้วก็มีภาษาไทยสเนียงดัช ว่า "เก้าว สี่บ จูด สุน สุน ด้่าย ตี้ นึ่ง"
งงครับ..ยืนนิ่งสักพักนึง ก็ถึงรู้ว่า เราได้รางวัลเหรียญทอง และไม่พอเรายังได้คะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์ ได้รางวัลเป็นทิมปานีใบเล็กมาใบนึงด้วย ไชโย...


มีการประกวดนั่งบรรเลงด้วย พรุ่งนี้ต้องไปทำงานเดี๋ยวมาเล่าให้ฟังใหม่น่ะครับ.



การประกวดการนั่งบรรเลง
    วงเราใส่ชุดสูทเสื้อนอกสีขาวมีตราตัวแทนประเทศไทยรูปธงชาติไทย  เสื้อแขนยาวตัวในสีขาว เนคไทด์สีดำ กางเกงสีดำ รองเท้าหนังสีดำ